การสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ของปี 2023 เราแนะนำเครื่องมือต่างๆ ที่มีทั้งฟรี และเสียเงิน (Premium) ดังนี้

หมายเหตุ: ธีมหรือปลั๊กอินที่เสียเงินจะใส่ (Premium) ต่อท้ายนะครับ ซึ่งบางลิงก์จะเป็นลิงก์แบบมีค่านายหน้า (affiliate link)

THEMES

ธีมคือส่วนแสดงผลหน้าเว็บไซต์ ทีมเราใช้ธีม Plant (Premium) เป็นหลัก ส่วนเว็บที่ต้องแก้ไขหรือทำระบบเพิ่ม เราจะนำธีมลูกของ Plant (Fruit – Child Theme) มาแก้ไขต่อ (เช่นเว็บ seedwebs.com นี้)

แต่หากให้แนะนำธีมอื่นๆ ขอแนะนำ

  1. Classic Theme: Astra
  2. Block Theme: Blockpress

PLUGINS

ปลั๊กอินคือส่วนเสริมของเวิร์ดเพรส เพื่อความสามารถในด้านต่างๆ

1. ปลั๊กอินจัดหน้า ปรับความสวยงาม

ทีมเราใช้ GenerateBlocks สำหรับเลย์เอาท์ที่ไม่ซับซ้อน และ Greenshift กับ All Addons (Premium) ที่มีเครื่องมือ และ Block จำนวนมาก พร้อมอนิเมชั่นและเทมเพลตสวยๆ (เพิ่งได้ลองเดือนกันยายน 2023 นี้เอง ซื้อ Lifetime ทันที)

การใช้ปลั๊กอินแนว Block จะทำให้โหลดหน้าเว็บเร็วกว่า Page Builder (เช่น Elementor, WPBakery) เพราะระบบจะโหลดเฉพาะ Block ที่ใช้งานในหน้านั้นเท่านั้น ปลั๊กอินที่แนะนำทั้งสองตัวด้านบน สามารถทำคะแนน Page Speed 100/100 ได้

2. ปลั๊กอินทำให้เว็บโหลดเร็ว

ทีมเราใช้ Perfmatters (Premium) สำหรับปรับเว็บให้โหลดเร็ว ปรับการโหลด CSS/JS ในแต่ละหน้าได้ละเอียด
แต่สำหรับปลั๊กอินฟรี แนะนำ Autoptimize หรือ WP Fastest Cache

ส่วนการใส่รูป ยุคนี้แนะนำให้แปลงรูปเป็น webp ก่อนใส่ เพราะมีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่า jpg, png ประมาณ 10 เท่า) สามารถแปลงรูปโดยใช้เว็บ cloudconvert.com หรือโปรแกรม Image Tool+ (Mac), pingo (Win) แต่หากไม่สามารถทำได้ แนะนำปลั๊กอิน WebP Express ที่แปลงรูปบน server แทน

3. ปลั๊กอินทำให้ติด Google

ทีมเราใช้ The SEO Framework สำหรับทำ SEO ที่ไม่หนักเครื่อง เพียงพอต่อการใช้งาน
แต่หากต้องการฟีเจอร์เยอะๆ แนะนำ Rank Math SEO หรือ Yoast SEO

4. ปลั๊กอินด้านความปลอดภัย

หากใช้เซิร์ฟเวอร์/ธีม/ปลั๊กอิน ที่มีความปลอดภัยและอัปเดตสม่ำเสมอแล้ว ช่องทางหลักที่โดนเจาะกัน คือการสุ่มรหัสผ่าน

หากเป็นเว็บที่ล็อกอินด้วยโซเชียลหรืออีเมลได้ ทีมเราจะใช้ Seed Login Pro เป็นหลัก โดยปิดการใช้รหัสผ่านทั้งหมด และล็อกอินผ่าน Nextend Social Login หรือ Passwordless Login เท่านั้น เท่านี้ก็ไม่พบการโดนแฮ็กอีกเลย

แต่หากเป็นเว็บที่ยังจำเป็นต้องใช้รหัสผ่าน

  • ถ้าเว็บนั้นใช้ Cloudflare เราจะใช้ Simple Cloudflare Turnstile เพื่อให้ Cloudflare ตรวจสอบก่อน
  • ถ้าเว็บนั้นไม่ใช้ Cloudflare เราจะใช้ SolidWP (iThemes Security Pro) ช่วย แต่ Server จะทำงานหนักกว่า

5. ปลั๊กอินแบบฟอร์ม

ทีมเราใช้ Gravity Forms (Premium) เป็นหลัก ทำได้ทั้งฟอร์มติดต่อ, ลงทะเบียน, รีวิว, ควิซ, ตัดบัตรเครดิต ฯลฯ

  • ใช้ร่วมกับ Gravity Kit (Premium) จะนำข้อมูลมาแสดงเป็นตาราง, แผนที่, แคตาล็อกต่างๆ ได้
  • ใช้ร่วมกับ Gravity PDF (Premium) จะสามารถนำข้อมูลออกมาเป็นเอกสารได้ เช่น ใบเสนอราคา, ใบรับรองต่างๆ

ส่วนปลั๊กอินฟรี แนะนำ Forminator (โพสต์ในกลุ่ม WordPress Bangkok )

6. ปลั๊กอินอื่นๆ

สำหรับโจทย์เฉพาะด้านอื่นๆ เราใช้ปลั๊กอิน Premium ดังนี้

  • ActiveCampaign Postmark ใช้กับระบบส่งเมลของ Postmark ทำให้ส่งเมลได้เร็ว ไม่ติดสแปม
  • Happy Files ไว้สร้างโฟลเดอร์ย่อยๆ ในหน้าสื่อ (Media) เหมาะกับเว็บที่มีคนลงข้อมูลหลายแผนก
  • Advanced Custom Fields สำหรับสร้างชนิดข้อมูล (Custom Post Type) และฟีลด์ (Custom Field) เพิ่มเติม
  • Admin Columns Pro สำหรับจัดคอลัมน์หลังบ้าน เหมาะกับข้อมูลที่มีฟีลด์ที่สร้างเพิ่ม
  • WP All Import & WP All Export สำหรับย้ายข้อมูลจากตารางใน Excel / CSV มาเป็นข้อมูลของเว็บไซต์
  • Fibosearch สำหรับค้นหาสินค้า WooCommerce แบบ AJAX
  • Premmerce Product Filter สำหรับกรองข้อมูลสินค้าตามหมวดหมู่ แท็ก หรือคุณสมบัติอื่นๆ
  • Ninja Tables Pro สำหรับนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง, แคตาล็อก ค้นหาได้ เรียงลำดับได้
  • wpDataTables เหมือนด้านบน (แนะนำ คลิปจาก Pai WP Meetup ตอนช่วงต้น)
  • FacetWP สำหรับสร้างระบบค้นหาและกรองข้อมูลเอง (แนะนำ คลิปจาก Pai WP Meetup)
  • Simply Static Pro สำหรับ Export ข้อมูลทั้งเว็บเป็นไฟล์ Static เหมาะกับเว็บเนื้อหาที่ต้องการนำขึ้น CDN
  • Tutor LMS สำหรับระบบคอร์สออนไลน์ ฟีเจอร์เยอะมาก แต่ก็หนักเครื่องพอสมควร

HOSTING SERVERS

การเลือกโฮสติ้งเซิร์ฟเวอร์ หรือ คลาวด์ต่างๆ นั้น เริ่มต้นคือต้องผ่าน มาตรฐานขั้นต่ำของ WordPress คือ PHP7.4 ขึ้นไป MySQL 5.7 หรือ MariaDB 10.4 ขึ้นไป และใช้ https (ถ้าไม่ถึงมาตรฐานนี้คือไม่ปลอดภัย ไม่ควรใช้อย่างยิ่ง)

1. Cloud Hosting

โฮสต์แบบนี้คือเราสามารถเลือกสเป็กเครื่องได้เอง เช่น CPU 2 Core, Ram 2GB พื้นที่ 40 GB และอาจตั้งให้มี Auto Scale ที่ขยายขนาดได้เองเวลามีคนทำรายการจำนวนมาก แต่ข้อเสียคือต้องจัดการเรื่องอื่นๆ เองต่อ เช่น Backup, Mail Server, WAF & Security, Update & Maintenance.

ที่เราใช้อยู่ จะมี

  • Amazon Web Services (AWS) ที่แม้ราคาจะสูงบ้าง แต่เสถียร ได้มาตรฐาน
  • Vultr ราคาประหยัด คุณภาพดี นานๆ จะเจอ Error ซักครั้ง

ส่วน Digital Ocean ใช้มาหลายปี แต่เจอปัญหาเยอะไปหน่อย เลยไม่ได้ใช้ต่อ

2. Managed WordPress Hosting

โฮสต์แบบนี้จะมีคนช่วยจัดการระบบ และดูแลความปลอดภัยให้ ราคามักจะสูงหน่อย ตัวอย่างเช่น Cloudways หรือ SiteGroud

ทีมเราใช้ Cloudways แล้วพบว่าพอมีขนาดใหญ่ ราคาจะแพงมาก ส่วน Siteground ยังใช้ Apache อยู่ ไม่ได้ใช้ Pure NGINX ทำให้เราจูน Server ให้เร็วมากที่สุดไม่ได้

สุดท้ายเลยทำเอง เลือก Server ในสิงคโปร์ ติดตั้ง WordPress ด้วยระบบของ RunCloud ใช้บริการ Cloudflare เป็นหลัก (แนะนำ Cloudflare APO เหมือนกับที่ใช้ในเว็บ seedwebs.com นี้)

และเปิดให้บริการพร้อมไลเซนส์ธีมและปลั๊กอินต่างๆ ในหน้า Managed WordPress Cloud ครับผม


WordPress Site Management

การดูแลเว็บ WordPress จำนวนมาก อัปเดตระบบทุกเดือน และคอยดูแลกรณีมีปัญหา เราจะใช้เครื่องมือชื่อ MainWP ที่สามารถสั่งอัปเดตระบบ/ธีม/ปลั๊กอิน จำนวนมากครั้งเดียวกันได้ มีระบบตรวจสอบ Page Speed กรณีเว็บไหนโหลดช้าเกินไป มีระบบ Report และ Monitor

MainWP เป็นปลั๊กอินนึงที่ติดตั้งบน Server ของเรา เลยทำให้การจัดการข้อมูลต่างๆ เราดูแลได้เต็มที่ แต่หากอยากให้บริการที่เริ่มต้นง่ายๆ ลองดู ManageWP, WPMU DEV, InfiniteWP ได้ครับ

ส่วนการ Monitor Server เพื่อแจ้งเตือนทาง Email / Slack / SMS เราใช้เว็บ UptimeRobot เป็นหลัก เพราะสามารถสร้างหน้าแสดงสถิติย้อนหลังได้ง่าย ที่ Seed Servers Status